วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กลุ่มดาวลูกไก่


           กลุ่มดาวลูกไก่อยู่ใกล้ ๆ ดาวธง ฝรั่งเขานับได้ 7 ดวง จึงตั้งชื่อกลุ่มดาวกลุ่มนี้ว่า “Seven Sisters” มีเพลงไทยชื่อ เพลงแหล่ดาวลูกไก่ กล่าวอ้างว่ามีเรื่องราวอยู่ ในชาดก ลูกไก่เจ็ดตัว กระโดดเข้ากองไฟตายพร้อมกันเพื่อแม่ ซึ่งได้สละชีวิต เพื่อการทำบุญของเจ้าของ
กลุ่มดาวลูกไก่อยู่ในกลุ่มดาววัว ตามภาพจะเห็นได้ว่า ดาวลูกไก่, ดาวธง, ดาวไถ, ดาวเต่าอยู่ใกล้เคียงกัน
กลุ่มดาวลูกไก่ เป็นกลุ่มดาวที่ใช้ทดสอบ สายตาของคนได้เป็นอย่างดี เพราะถ้า คนทั่วไปจะเห็นเพียง 6 ดวง แต่ถ้าผู้ชำนาญดูบ่อย ๆนับดูจะได้ 7 ดวงหรือกว่า ดาวกลุ่มนี้ตามความเป็นจริงไม่ได้มีแต่เพียง 7 ดวง มีหลายร้อยดวงเป็น “กระจุกดาว” ถ้ามีกล้อง 2 ตาหรือกล้องโทรทรรศน์ส่องดูดวงกลุ่มนี้ จะเห็นเป็น กระจุกดาวที่สวยงามที่สุดในท้องฟ้ากระจุกหนึ่ง

กลุ่มดาวแมงป่อง


        กลุ่มดาวแมงป่อง  เป็นกลุ่มดาวที่มีดาวฤกษ์เรียงตัวปรากฏเป็นรูปแมงป่องอย่างชัดเจนมาก ปรากฏอยู่ทางทิศตะวันตกของกลุ่มดาวคนยิงธนู ทางซีกฟ้าด้านใต้และเป็นกลุ่มดาวแนวกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ( The Milky Way ) พาดผ่าน ดวงอาทิตย์จะผ่านกลุ่มดาวแมงป่องระหว่างวันที่ 23 ถึง 30 พฤศจิกายน กลุ่มดาวแมงป่องประกอบไปด้วยดาวฤกษ์อย่างน้อย 15 ดวง โดย 3 ดวงแรกเป็นหัว ถัดไปอีก 4 ดวงเป็นลำตัว และที่เหลือเป็นส่วนหาง กลุ่มดาวแมงป่องนี้จะอยู่บนท้องฟ้านานถึงคืนละ 8 ชั่วโมง ดาวที่สำคัญในกลุ่มดาวแมงป่อง มีดังนี้ Antares ดาวแอนทาเรส เป็นดาวฤกษ์ยักษ์สีแดง ( Supergiant ) มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ประมาณ 700 เท่า เป็นดาวคู่ มีความสว่าง 0.9 ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับ 15 ของท้องฟ้าตอนกลางคืน อยู่ห่างจากโลกประมาณ 604 ปีแสง ชื่อดาวหมายถึง คู่แข่งของดาวอังคาร ( the Rival to Ares ) เนื่องจากมีสีแดงคล้ายดาวอังคารนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า Cor Scorpii ซึ่งหมายถึง หัวใจแมงป่อง ( the Heart of Scorpion ) ส่วนคนไทยเรียกชื่อดาวดวงนี้ว่า ดาวปาริชาต

กลุ่มดาวคนยิงธนู

 

  กลุ่มดาวคนยิงธนู หรือ กลุ่มดาวธนู เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี วาดเป็นรูปคนครึ่งม้ากำลังน้าวคันธนู กลุ่มดาวคนยิงธนูอยู่ระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวแพะทะเลทางทิศตะวันออก ดาวสว่างในกลุ่มดาวนี้เรียงกันเป็นรูปร่างคล้ายกาน้ำชา
กลุ่มดาวคนยิงธนู อยู่ถัดจากกลุ่มดาวแมงป่องไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยดาวฤกษ์เรียงกันอย่างน้อย 8 ดวง คล้ายกับกาต้มน้ำ ไม่มีดาวดวงใดเด่นมากนัก ดวงอาทิตย์จะโคจรผ่านกลุ่มดาวคนยิงธนูระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม ถึง 21 มกราคม ซึ่งกลุ่มดาวคนยิงธนูเป็นกลุ่มดาวที่อยู่ใจกลางทางช้างเผือก กลุ่มดาวคนยิงธนู เป็นกลุ่มดาวอันดับที่เก้าของกลุ่มดาวจักรราศีโดยกลุ่มดาวคนยิงธนูจะเป็นรูป สัตว์ในเทพนิยาย เป็นครึ่งม้าครึ่งคน เหมือนกลุ่มดาวม้าครึ่งคน (Centaurus) เพียงแต่คนยิงธนูเป็นนายพรานจึงมักจะสับสนกันบ่อย กลุ่มดาวคนยิงธนูจะหันปลายธนู ไปทางกลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius) แต่กลุ่มดาวที่ค่อนข้างสุกสว่างจริงๆ ของกลุ่มดาวนี้ เรามักจะเห็นเป็นรูปกาต้มน้ำหันไปทางกลุ่มดาวคค


กลุ่มดาวสุนัขใหญ่


   กลุ่มดาวสุนัขใหญ่เป็นกลุ่มดาวที่สังเกตได้ง่ายเพราะมีจุดเด่นคือดาวโจร(Sirius) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่สุกสว่างที่สุดของท้องฟ้าตอนกลางคืน และยังมีดาวสว่างระดับ 2 อยู่อีก 4 ดวงคือดาวMirzam,Wesen,Adhara,Aludra เราสามารถหากลุ่มดาวสุนัขใหญ่ได้โดยสังเกตจากกลุ่มดาวนายพรานโดยใช้แนวที่ลากจากดาว Mintaka ไปยังดาวAlnilam และดาวAlnitak จากนั้นลางต่อไปจะเจอดาวโจร เราสามารถเห็นกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ได้ตลอดหน้หนา

กลุ่มดาวจระเข้



   กลุ่มดาวที่มนุษย์รู้จักดีที่สุด และใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด คือ กลุ่มดาวจระเข้ ดาวกลุ่มนี้มี 7 ดวง มีลักษณะคล้ายกระบวยตักน้ำ 4 ดวงเป็นตัวกระบวย อีก 3 ดวง เป็นด้าน ชาวจีนและชาวยุโรปเขาเห็นเป็นรูปกระบวย จึงเรียกกลุ่มดาวกลุ่มนี้ว่า “กระบวยใหญ่” (Big Dipper) ชาวกรีกซึ่งเป็นดินแดนแห่งเทพนิยายอันเกี่ยวกับ ดวงดาวต่าง ๆ เห็นเป็น “หมีใหญ่” (Ursa Major)  คนไทยเห็นเป็น “จระเข้” ทั้งกรีกและไทย เห็นเหมือนกันอยู่ 1 อย่างคือ เห็นดาว 3 ดวง ทางด้ามกระบวยเป็นหางหมี และหางจระเข้เหมือนกัน

กลุ่มดาวบนท้องฟ้า

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ดาวเสาร์

ดาวเสาร์

           ดาวเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ที่รู้จักกันมาตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ กาลิเลโอสังเกตดาวเสาร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2153  เขามองเห็นดาวเสาร์มีลักษณะเป็นวงรี จนกระทั่งปี พ.ศ.2202 คริสเตียน ฮอยเกนส์ พบว่าวงรีที่กาลิเลโอเห็นนั้นคือวงแหวนของดาวเสาร์  เป็นที่เชื่อกันว่าดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวของระบบสุริยะที่มีวงแหวน จนกระทั่งต่อมาได้มีการส่งยานอวกาศไปค้นพบวงแหวนบางๆ รอบดาวพฤหัสบดี ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวเสาร์ถูกสำรวจโดยยานไพโอเนียร์ 11 ในปี พ.ศ.2522 ตามด้วยยานวอยเอเจอร์ 1 ยานวอยเอเจอร์ 2 และยานแคสสินีในปี พ.ศ.2547 บรรยากาศของดาวเสาร์เป็น ไฮโดรเจน 75% ฮีเลียม 25% ปะปนไปด้วยน้ำ มีเทน แอมโมเนีย จำนวนเล็กน้อย แถบสีบนดาวเสาร์เกิดขึ้นจากการหมุนรอบตัวเองเร็วมาก จนทำให้เกิดการหมุนวนของชั้นบรรยากาศที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน จึงปรากฏเป็นแถบเข้มและจางสลับกันไป โครงสร้างภายในของดาวเสาร์มีลักษณะคล้ายคลึงกับของดาวพฤหัสบดี มีแกนกลางที่เป็นหินแข็ง ห่อหุ้มด้วยแมนเทิลชั้นในที่เป็นโลหะไฮโดรเจน และแมนเทิลชั้นนอกที่เป็นไฮโดรเจนและฮีเลียมเหลว


โลก

       โลก

         โลก (The Earth) เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 โลกมีสัณฐานเป็นทรงกลมแป้นมีรัศมีเฉลี่ย 6,371 กิโลเมตร โครงสร้างภายในของโลกประกอบไปด้วยแก่นชั้นในที่เป็นเหล็ก มีรัศมีประมาณ 1,200 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยแก่นชั้นนอกที่เป็นของเหลว (Liquid) ประกอบด้วยเหล็กและนิเกิล มีความหนาประมาณ 2,200 กิโลเมตร ถัดขึ้นมาเป็นชั้นแมนเทิลซึ่งเป็นของแข็งเนื้ออ่อนที่ยืดหยุ่นได้ (Plastic) ประกอบไปด้วย เหล็ก แมกนีเซียม ซิลิกอน และธาตุอื่นๆ มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร เปลือกโลกเป็น

ดาวศุกร์

ดาวศุกร์  
         
         ดาวศุกร์ (Venus) อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เป็น        ดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ดาวศุกร์มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับโลก จนได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ฝาแฝดกับโลกของเรา โครงสร้างภายในของดาวศุกร์ ประกอบด้วย แกนกลางที่เป็นเหล็กมีรัศมีประมาณ 3,000 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร และเปลือกแข็งที่ประกอบด้วยหินซิลิเกต

ดาวพุธ

      ดาวพุธ
         ดาวพุธ (Mercury) เป็นดาวเคราะห์ซึ่งอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก และไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร โครงสร้างภายในของดาวพุธประกอบไปด้วยแกนเหล็กขนาดใหญ่มีรัศมีประมาณ 1,800 ถึง 1,900 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชั้นที่เป็นซิลิเกต (ในทำนองเดียวกับที่แกนของโลกถูกห่อหุ้มด้วยแมนเทิลและเปลือก) ซึ่งหนาเพียง 500 ถึง 600 กิโลเมตร บางส่วนของแกนอาจจะยังหลอมละลายอยู่  

ดาวอังคาร



ดาวอังคาร
        
          ดาวอังคาร  (Mars) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด ดาวอังคารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เท่าของโลก  ดาวอังคารมีโครงสร้างภายในประกอบด้วยแก่นของแข็งมีรัศมีประมาณ 1,700 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่เป็นหินหนืดหนาประมาณ 1,600 กิโลเมตร และมีเปลือกแข็งเช่นเดียวกับโลก   ดาวอังคารมีสีแดงเนื่องจากพื้นผิวประกอบด้วยออกไซด์ของเหล็ก (สนิมเหล็ก)  พื้นผิวของดาวอังคารเต็มไปด้วยหุบเหวต่างๆ มากมาย หุบเหวขนาดใหญ่ชื่อ หุบเหวมาริเนอริส (Valles Marineris) มีความยาว 4,000 กิโลเมตร กว้าง 600 กิโลเมตร ลึก 8 กิโลเมตร  นอกจากนี้ดาวอังคารยังมีภูเขาไฟที่สูงที่สุดในระบบสุริยะชื่อ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Mount Olympus) สูง 25 กิโลเมตร  ฐานที่แผ่ออกไปมีรัศมี 300 กิโลเมตร